top of page

โรงเรียนวัดหัวตะพาน

LINE_ALBUM_รร.บ้านหัวตะพาน_220322_7.jpg
131291459_3603662646389315_3535523323298531474_n (1).jpg

รายละเอียดโรงเรียน

ที่อยู่ : หมู่14 บ้านหัวตะพาน ตำบล แพรกสรีราชา อำเภอ สรรคบุรี จังหวัด ชัยนาท 17140

จำนวนนักเรียน (ปัจจุบัน) : มีนักเรียนตั้งแต่อนุบาลถึง ป.6 ทั้งหมด 29 คน

  • อนุบาลและรับฝาก จำนวน 9 คน

  • ป.1 มีจำนวน 6 คน

  • ป.2 ไม่มี

  • ป.3 มีจำนวน 1 คน

  • ป.4 มีจำนวน 2 คน

  • ป.5 มีจำนวน 3คน

  • ป.6 มีจำนวน 8 คน  

จำนวน คุณครูและบุคคลากร (ปัจจุบัน)

  • ครูประจำ 1 ท่าน – ครูสมประสงค์

  • ครูอัตราจ้าง 1 คน สำหรับดูแลอนุบาล (เงินเดือนมาจากผ้าป่า)

  • โรงเรียนไม่มีผอ.

  • โรงเรียนมีนักการภารโรง 1 ท่าน (ซึ่งเป็นชาวบ้านที่มาช่วยเหลือ)

  • แม่ครัว 1 ท่าน (ซึ่งเป็นชาวบ้านที่มาช่วยเหลือ)

พื้นที่ /อาคารเรียน : มีอาคารเรียน 2 หลัง

  • อาคารแรก เป็นอาคาร 1 ชั้น จำนวน 4 ห้องเรียน ปัจจุบันเป็นอาคารที่ยังมีการเรียนการสอน

  • อาคารที่สอง เป็นอาคารสองชั้น ยกสูงมีข้างล่างเป็นพื้นโล่ง ปัจจุบันใช้เฉพาะใต้ถุนสำหรับเรียนวิชาบูรณาการบางเวลาเท่านั้น

** อาคารเรียนทั้งสองเป็นไม้

  • ห้องแรก สำหรับสอนชั้น ป.3-4

  • ห้องที่สอง สำหรับชั้นอนุบาลและรับฝาก (มีห้องน้ำเด็ก)

  • ห้องที่สาม สำหรับสอนชั้น ป.1 รวมเป็นห้องธุรการและคอมพิวเตอร์

  • ห้องที่สี่ สำหรับสอนชั้น ป.5-6 และมุมอ่านหนังสือ

  • ไม่มี ห้องสมุด

  • ห้องน้ำ 1 หลัง 2ห้อง

​โรงเรียนบ้านหัวตะพาน เดิมเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่แต่ปัจจุบันจำนวนนักเรียนน้อยลง และขาดงบประมาณสนับสนุนบางส่วนเนื่องจากจำนวนนักเรียนและครูมีไม่มากพอที่เป็นไปตามเกณฑ์ทางภาครัฐอีกทั้งโรงเรียนยังขาดบุคลากร เช่นธุรการ ทำให้งบในส่วนดังกล่าวก็ถูกตัดออกดังนั้นค่าใช้จ่ายบางส่วนจึงมากจาก เงินนอกงบประมาณ*

 

[* เงินนอกงบประมาณ หมาย เงินที่ได้มาจากส่วนอื่นๆนอกเหนือจากงบประมาณของรัฐ อาทิเช่น เงินบริจาค เงินจากผ้าป่า เงินจากชุมชน เป็นต้น] 

images.jpg
1381070826-DSC05002La-o.jpg
167455002_3003092453281722_7529786953565850920_n.jpg

โรงเรียนกับชุมชน

 โรงเรียนวัดหัวตะพานเป็นโรเรียนเล็ก ๆ ที่รับสอนเด็ก ๆจากชุมชนในระแวกนั้น เนื่องจากสภาพชุมชนรวมถึงครอบครัวเด็ก ๆ มีฐานะค่อนข้างยากจนโดยจะประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป แม้จะไม่ได้อยู่นอกเมืองหรือห่างไกลความเจริญซะทีเดียวแต่ชุมชนที่นี่ก็ไม่สามารถที่จะพาลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอื่น ๆ ที่ห่างออกไปได้ ด้วยปัจจัยมากมาย จนทำให้โรงเรียนแห่งนี้มีความจำเป็นมาก ๆ ที่จะทำให้ลูกหลานได้รับการศึกษาเบื้องต้น ด้วยเหตุผลทางฐานะของครอบครัวเด็ก ๆ ทำให้หลาย ๆ อย่างโรงเรียนต้องรับผิดชอบ อาทิเช่น ชุดนักเรียน เครื่องเขียนรวมไปถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งโรงเรียนมีรายได้จาก ผ้าป่า การขอรับบริจาค (เพื่อนของครู) และการจำหน่ายผักที่เด็ก ๆ ปลูก เพราะโรงเรียนมีขนาดเล็กทำให้งบประมาณที่ได้น้อยมาก และไม่สามารภขอเพิ่มได้โดยเฉพาะงบในการก่อสร้าง ซ่อมแซมอาคารที่ได้มามีเพียงงบอุดหนุนทั่วไปจัดตามรายหัวนักเรียน

 ในปัจจุบันโรงวัดหัวตะพาน มีคุณครูเพียง 1 ท่านเป็นครูภาษาไทย ทำให้วิชาที่คุณครูสอนเป็นหลัก คือวิชาภาษาไทย ถัดมาคือคณิศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และใช้วิชาบูรณาการ อาทิ ปลูกผัก ทำแซนวิช เรียนธรรมะในวัด หรือกิจกรรมนันทนาการมาสอนเพิ่มเติมโดยส่วนนี้บ้างครั้งก็จะได้รับการช่วยเหลือในด้านลงแรงจากคนในชุมชนและวิชาพระพุทธศาสนากับวัด

 โรงเรียนและวัดอยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยวกันโดยโรงเรียนตั้งอยู่ด้านข้างของวัดหัวตะพานวัดขนาดใหญ่ที่มีคนเข้ามาร่วมทำบุญมากมายและกราบไหว้หลวงปู่ที่ขึ้นชื่อทำให้วัดมีการก่อสร้างมากมายและใหญ่โตการที่มีผู้คนมากมายเข้าออกวัด ทั้งนักท่องเที่ยว พระ รวมไปถึงคนที่มาอยู่ในฐานะคนของวัด โดยวัดและโรงเรียนมีบางพื้นที่ที่กำแพงวัดไม่ได้สร้างปิด จึงมีปัญหาที่เกิดจากกลุ่มคนที่เข้ามาใช้พื้นที่คาบเกี่ยวตรงนี้ในการดื่มแอลกอฮอล์หรือมั่วสุมกัน ทำให้เกิดความไม่สบายใจต่อคุณครูทำให้พื้นที่บางส่วนของโรงเรียนต้องเลิกใช้งานเพื่อความปลอดภัยของนักเรียน แม้ทางชุมชนและโรงเรียนจะทราบถึงต้นตอของปัญหาแต่ไม่สามารถแก้ไขอะไรไปได้มากกว่าการระมัดระวังเนื่องจากชุมชน และโรงเรียนไม่ต้องการให้เกิดความไม่สบายใจต่อชุมชนและวัด

 ทั้งนี้ ชาวบ้านในระแวกดังกล่าว ต่างให้ความร่วมมือ ในการดูแลเด็ก ๆ ในหลาย ๆ ด้านเพื่อแบ่งเบาภาระคุณครู อาทิเช่น การร่วมกันบริจาคข้าวสารสำหรับมื้อกลางวันเด็ก ๆ หรือการระดมทุนเพื่อนเลี้ยงขนมในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ทั้งหมดนั้นเพื่อให้โรงเรียนยังคงอยู่ให้เด็ก ๆ ได้เรียนใกล้บ้านเพราะหากต้องเดินทางไปเรียนที่อื่นเด็ก ๆ อีกหลายคนอาจจะไม่สามารถเรียนต่อได้แม้จะเป็นเพียงระดับประถมศึกษาก็ตาม

รูปแบบการเรียนการสอน

​  อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ด้วยจำนวนครูผู้สอนในโรงเรียนที่มีไม่เพียงพอต่อการสอนอีกทั้งยังต้องดูแลเด็ก ๆ ให้ปลอดภัยทำให้เวลาของคุณครูทั้งหมดแทบเป็นของโรงเรียน ในทุก ๆ เช้าหลังเคารพธงชาติคุณครูจะพาเด็ก ๆ กายบริหารก่อนเข้าเรียนเพื่อเป็นการออกกำลังกายเบา ๆ ก่อนเริ่มเรียนในคาบเช้า โดยการสอนในช่วงเช้าจะเป็นวิชาการได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ซึ่งคุณครูจะสลับสอนเด็ก ๆ ไปทีละห้องจนหมดช่วงเช้าโดยจะสอนควบกัน 2 ระดับต่อห้องโดยในระหว่างนั้นเด็ก ๆ อาจจะทำงานที่ครูสั่ง พัก หรืออาจจะไปนั่งอ่านหนังสือภาพในห้องและในช่วงบ่ายจะเป็นวิชาบูรณาการ ไม่ว่าจะเป็น การทำแซนวิช การปลูกผักสวนครัวรวมไปถึงการทำกิจกรรมเข้าจังหวะต่าง ๆ เท่าที่โรงเรียนจะมีทรัพยากรเพียงพอ

 แม้งบประมาณที่ได้รับจะไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนการเรียน การสอน หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ แต่คุณครูก็คงยังให้คุณค่าการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การปลูกผักสวนครัว ที่คุณครุคาดหวังว่าในอนาคตวิชาและความรู้ตรงนี้จะสามารถต่อยอดให้นักเรียนได้ไม่มากก็น้อย อีกทั้งกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ หรือแม้แต่การจัดกีฬาสีและเดินขบวนคุณครูก็จัดให้เด็ก ๆ ได้สนุกและมีความสุข ในบางโอกาสที่คุณครูพอจะพาเด็ก ๆ ไปเข้าร่วกิจกรรมกับโรงเรียนอื่น ๆ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดกิจกรรมเพื่อนักเรียนคุณครูก็จะพาเด็กๆไปเรียนรู้

249891895_3158624964395136_3247509101279420113_n.jpg
279348957_5172562552836089_8070303466506511081_n.jpg
242524475_3158624997728466_8349278444665477518_n.jpg

ปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียน

 1. แม้คุณครูจะพยายามมากเพียงใด แต่การขาดสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมรวมถึงครอบคลุมหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการนั่นทำให้ผลประเมินชี้วัดของโรงเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ซึ่งโรงเรียนไม่สามารถที่จะจัดจ้างครูอัตราจ้างเพิ่มได้เพราะเงินเดือนของครูอัตราจ้างจะต้องมาจากเงินนอกงบประมาณซึ่งถือว่าเป็นเงินจำนวนมากจึงทำให้สื่อการสอนแบบผสมผสานระหว่างครูและสื่อวีดีทัศน์มีความสำคัญต่อการเรียนของเด็กเป็นอย่างมาก รวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายโปรเจคเตอร์โดยคุณครูหลังจากได้เข้าทำการสอนในโรงเรียนแห่งนี้จึงได้ติดต่อเพื่อนครูภายในรุ่นเพื่อขอระดมทุนและรับบริจาคจึงได้คอมพิวเตอร์เพื่อมาเสริมการเรียนการสอน แต่ด้วยระยะเวลาทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์บางเครื่องเสียหายและใช้งานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

 2. ห้องน้ำสำหรับนักเรียนถือเป็นปัญหาที่ทางโรงเรียนต้องการการแก้ไขเป็นอย่างมาก เนื่องจากทั้งโรงเรียนมีห้องน้ำเพียงหนึ่งหลัง ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังบริเวณอาคารเรียน 2 ชั้นและเป็นบริเวณที่ไม่ได้มีการใช้งานประจำอีกทั้งยังเป็นพื้นทีเชื่อมต่อกับวัดที่ทำให้มีคนนอกเข้ามาได้ ซึ่งในอดีตเคยเกิดอันตรายกับเด็กนักเรียน ในช่วงเวลาที่ผ่านมาการไปเข้าห้องน้ำของเด็กจะต้องไปเป็นคู่หรือมีคุณครูไปด้วยแต่เพราะคุณครูมีเพียงคนเดียวทำให้การเรียนการสอนจะต้องหยุดเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ไปเข้าห้องน้ำอย่างปลอดภัย ทางโรงเรียนเคยทำเรื่องของบประมาณเพื่อก่อสร้างแต่ได้รับคำตอบที่ไม่เป็นไปตามที่หวังด้วยเงื่อนไขของจำนวณนักเรียนที่ไม่มากพอจะของบก่อสร้างอาคารใด ๆ

96225A85-027E-47CD-AF08-F6A0D96DB9FC.jpg
131958735_2924930407764594_2089558857858606498_n.jpg
286676184_333750025609942_7931166798598888286_n.jpg
287100976_333751045609840_4515058879303097294_n.jpg

 3. อาคารเรียนของโรงรียนทำด้วยไม้และด้วยอายุการใช้งานที่มีระยะเวลานานจึงทำให้เกิดการผุพังแม้จะยังพอใช้งานได้แต่ก้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ และในช่วงหน้าฝนหรือฝนตกมีลมกรรโชก ห้องเรียนจะใช้เรียนไม่ได้บางส่วนเนื่องจากความเปียกชื้นจากภาวะฝนตก แม้โรงเรียนจะพยายามซ่อมแซมเบื้องต้นแต่ด้วยวัสดุที่เลือกใช้ที่เน้นหาง่าย ราคาถูกและพอแก้ขัดได้ในบางเวลาเท่านั้นโรงเรียนได้ซ่อมแซมบางจุดแต่ใช้งบที่มากเกินกว่าที่โรงเรียนจะจัดหางบได้ทำให้จำเป็นจะต้องใช้อาคารเรียนในแบบนี้

 4.โรงเรียนไม่มีห้องสมุด หรือหนังสือเรียนนอกเวลาสำหรับเด็ก ๆ ในวัย 6-12 ปี แม้ว่าเวลาว่างเด็ก ๆ จะมาที่ห้องเรียนของ ป.5-ป.6เพื่อ่านหนังสือที่มี แต่เป็นหนังสือที่มีจำนวน้อย ไม่หลากหลายและเนื้อหาไม่อัพเดต

 5.เนื่องจากโรงเรียนมีการให้เด็ก ๆ ปลูกผักสวนครัวทั้งทานเองและจำหน่าย บริเวณพื้นที่ด้านหลังโรงเรียนที่ว่างอยู่แต่เพราะในช่วงเวลาที่ทำการเรียนการสอนอากาศจึงร้อนและทำให้เด็ก ๆ เสี่ยงที่จะป่วย

 6. ในด้านการกีฬา โรงเรียนได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์กีฬามาบ้าง รวมถึงเงินบริจาคในการทำสนามฟุตบอลแต่เมื่อจำนวนนักเรียนลดน้อยลงเรื่อย ๆ ทำให้ไ่สามารถเล่นกีฬาที่ใช้จำนวนคนที่มากได้ อีกทั้งอุปกรณ์ที่ได้รับบริจาคมาก็ชำรุดและเสียหายไปบางส่วนจึงไม่สามารถนำออกมาเรียนวิชาพละได้ การออกกลังกายของนักเรียนที่นี่จึงมีเพียงกายบริหาร

 7.สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลและเด็กรับฝากที่ทางโรงเรียนดูแลอยู่ ในแต่ละปีมีจำนวรที่แตกต่างกัน ซึ่งของใช้ชั้นอนุบาลเช่น ที่นอน ของเล่นจะเป็นของส่วนรวมซึ่งใช้มาหลายรุ่น ที่นอนเริ่มที่จะบางลงเพราะนุ่นผ่านการใช้งานมานาน ตุ๊กตาต่าง ๆ เริ่มเก่าและชำรุด ในบางครั้งก้ไม่เพียงพอต่อเด็กทุกคนรวมไปถึงของเล่นเสริมสร้างพัฒนาการเด็กวัย 3-6ขวบก็มีไม่เพียงพอสำหรับชั้นอนุบาล

 8.อย่างที่ทราบกันดีว่าชุมชนในระแวกนี้มีฐานะค่อนข้างยากจน ในส่วนของอาหารกลางวันที่ได้งบมารายบุคคลนั้นเพียงพอต่ออาหารเท่านั้น แต่เด็ก ๆ ยังต้องการ ขนม ผลไม้ซึ่งเป็นหน้าที่โรงเรียนเช่นกันที่จะจัดสรรค์ให้เด็กๆได้ทานทุกอย่างตามวัยโดยส่วนนี้คุณครูจะใช้เงินจากการบริจาคหรือมีคนเข้ามาเลี้ยงอาหารในบ้างมื้อซึ่งอาหารที่ครบหมู่และได้สารอาหารอย่างเต็มที่ส่งผลต่อสุขภาพ จิตใจและพัฒนาการที่ดีของนักเรียน

LINE_ALBUM_รร.บ้านหัวตะพาน_220322_20.jpg
117923356_2817007645223538_2922748443692999269_n.jpg
272252291_3217235845200714_2364751073819602680_n.jpg
bottom of page