อุปกรณ์และแปลงเกษตร
แปลงเกษตร
โรงเรียนได้ใช้พื้นที่ว่างหลังอาคารเรียนในการปลูกผักสวนครัว อาทิเช่น ผักบุ้ง กว้างตุ้ง บวบ โดยเป็นหนึ่งในวิชาบูรณาการที่ทำในช่วงบ่ายโดยเด็ก ๆ เป็นคนดูแล ซึ่งจะทำในช่วงก่อนเลิกเรียน ในการรดน้ำ และพรวนดิน ซึ่งผลผลิตที่ได้จะถูกจำหน่ายให้เพื่อนๆ ของคุณครู และบางส่วนจะมอบให้เด็ก ๆ เพื่อนำไปประกอบอาหารภายในครัวเรือน
ด้วยเวลาที่เด็ก ๆ ต้องลงแปลงทำเกษตรเป็นช่วงบ่ายที่แดดค่อนข้างแรงซึ่งคุณครูมีความกังวลในเรื่องสุขภาพของนักเรียนจึงต้องการที่จะทำโครงโรงเรือนและคลุมทับด้วยผ้าแสลน เพื่อลดความแรงของแสงแดด แต่ก็ยังมีแสงพอให้พืชได้สังเคราะห์แสง
โดยทีมงานได้ลงสำรวจพื้นที่ และเห็นว่าพื้นดินมีความแข็งและไม่ได้รับการบำรุงเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตของเด็ก ๆ ซึ่งคุณครูได้เสนอไอเดียที่ต้องการจะปรับปรุงการปลูกผักสวนครัวแบบเดิมเปลี่ยนมาเป็นแบบ ตะกร้า โดยจะเป็นการปลูกผักใส่ตะกร้า หรือกะละมัง แทนการพรวนดินและปลูกแบบเดิมและจะขายผักเหล่านี้ผ่านเฟสบุ๊คโดยจะขายไปทั้งตะกร้าทำให้การจัดส่งง่ายและผักยังยืดอายุไปได้
โดยไอเดียดังกล่าว ทำให้เด็ก ๆ ไม่ต้องพรวนดินเองซึ่งดินมีความแข็งและแห้งมากในช่วงหน้าร้อนอีกทั้งอุปกรณ์การเกษตรอย่างเช่น จอบ เสียม ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็ก นอกจากนี้ทางทีมยังได้ปรึกษาและพูดกับคุณครูเพื่อเสนอให้ปลูกพืชอื่น ๆ ที่ดูแลไม่ยากและเพิ่มมูลค่าให้กับพืชผลได้ เช่น กล้วยหอม เป็นต้น ทั้งนี้ทีมงานจะจัดซื้อ เมล็ดพันธ์พืชที่โรงเรียนต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ผักบุ้ง ผักกาด สลัด กว้างตุ้ง คะน้า และอื่นๆ เพิ่มเติมทีมงานจะนำหน่อกล้วยหอมทองให้โรงเรียนปลูกและแซมด้วยตะไคร้ โดยในวันนั้นทีมงานและจิตอาสาจะนำน้อง ๆ ปลูกและรอเวลาหลังจากนั้นเพื่อรอวันที่ผลผลิตออก นอกจากเมล็ดพันธ์พืชแล้วทมงานจะหาปุ๋ยที่เหมาะกับผักชนิดต่างไว้ให้สำหรับบำรุงผักให้งอกงาม หากงบประมาณเพียงพอและเหลือจะนำไปซื้อตะกร้าและกะละมังขนาดพอดีเพื่อให้เด็ก ๆ สามารถเริ่มปลูกได้ทันทีหลังจากเสร็จจากโปรเจกต์
หากโปรเจกต์นี้สำเร็จ
-
ได้เรียนวิชาเกษตรอย่างปลอดภัยมากขึ้น
-
เพิ่มผลผลิตและมูลค่าของผลผลิต ส่งผลต่อรายได้ที่โณงเรียนจะนำมาแปลงเป็นส่วนอื่นๆให้นักเรียน
-
ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การปลูกผักสวนครัวให้รูปแบบอื่นๆ เพื่อเป็นวิชาติดตัวและสามารถนำไปปลูกเพื่อรับประทานเองในครัวเรือนได้
ภาพอัพเดต
อยู่ระหว่างโปรเจกต์...